Shopee เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มช้อปปิ้งชื่อดังในไทยของเรา ถึงแม้จะมาช้ากว่า Lazada แต่ปัจจุบันหากเปรียบเทียบกับยอดการใช้งาน Shopee ขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งเรียบร้อย มาดูกันว่าทำไมถึงเอาชนะ Lazada ได้ ถึงแม้จะมาทีหลังก็ตามที มีอะไรน่าสนใจบ้าง
เจาะกลยุทธ์ Shopee กลายเป็น No.1 ในไทยได้อย่างไร (กดเลือกอ่านได้)
ในยุคที่เกิดโรคโควิด ยิ่งส่งผลโดยตรงต่อช่องทางออนไลน์ เพราะไม่สามารถเดินทางออกไปข้างนอก และร้านค้าก็ดำเนินการเปิดร้านไม่สะดวก คนจึงหันไปซื้อของออนไลน์เป็นหลัก
โดย Shopee เป็นแพลตฟอร์ม E-commerce ที่เปิดตัวเมื่อปี 2015 หากนับจนถึงปัจจุบันก็มีอายุเพียงแค่ 6 ปี ซึ่งมาทีหลัง Lazada เกือบ 3 ปี แล้ว แต่กลับสามารถพาตัวเองทะยานนำหน้าแพลตฟอร์ม eCommerce เจ้าอื่นๆ
หากเราดูจากตารางภาพด้านบน
– ยอด Traffic ผู้ใช้งาน Shopee มีอัตราสูงถึง 47 ล้านคนต่อเดือนเลยทีเดียว ซึ่ง Lazada ยังอยู่ที่ 35 ล้านคนต่อเดือน
– การโหลดแอพพลิเคชั่นทั้งบน App Store และ Play Store ก็ขึ้นมาอยู่อันดับ 1
– ในฝั่งของ Social Media ทั้ง Facebook และ LINE ผู้ติดตามยังเป็นรอง Lazada อยู่ค่อนข้างมาก แต่ไม่ใช่ปัญหาของ Shopee เลยแม้แต่น้อย ยกเว้นเพียง IG ช่องทางเดียวที่มียอดผู้ติดตามเหนือกว่า Lazada ได้
แอดว่าทุกคนคงเริ่มสงสัยกันแล้วใช่มั้ยล่ะว่าทำไม Shopee ถึงมีผู้ใช้งานเยอะ มีฐานลูกค้าเยอะมากมายกันล่ะ ? งั้นเรามาเจาะดูกลยุทธ์ของ Shopee กันดีกว่าว่าทำยังไง
กลยุทธ์ของ Shopee ที่พาทะยานขึ้นอันดับ 1
Mobile Friendly
ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกับพ่อค้าแม่ค้า แต่รู้หรือไม่ว่าคนที่ช้อปส่วนใหญ่มักจะซื้อสินค้าจากโทรศัพท์มือถือเป็นหลัก ดังนั้น Shopee จึงได้พัฒนาแอพเพื่อให้ตอบโจทย์กับผู้ใช้งานได้มากที่สุด และการที่ Shopee ออกแบบแอพให้ใช้งานง่าย ก็ส่งผลทำให้ลูกค้าอยู่บนแอพนานมากยิ่งขึ้น
ต้องบอกว่าปัจจุบันคนส่วนใหญ่ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือเป็นหลัก ทุกธุรกิจจึงให้ความสำคัญกับการทำเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นให้ตอบโจทย์ ใช้งานง่าย อินเตอร์เฟซเข้ากับผู้ใช้งานให้ได้มากที่สุด
ให้มากกว่าการ Shopping
สังเกตได้จากแอพ Shopee ที่ไม่ได้มีแค่การช้อปปิ้งอย่างเดียว แต่ในช่วงวันสำคัญหรือวันพิเศษต่างๆ ก็จะมีกิจกรรมแจกรางวัลอย่างมากมาย ตั้งแค่โค้ดส่วนลดไปจนถึงทองคำเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าแรกที่สร้างเกมส์ไว้ให้เล่นเพื่อรับรางวัลในการช้อปปิ้งบนแอพอีกด้วย
ตรงหมวดเกมและความบันเทิงต่างๆ ร้านค้าก็สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการแจกของรางวัลได้ด้วยเช่นกัน อาทิเช่น แจกคูปองส่วนลด ให้โค้ดต่างๆ แจกสินค้าทดลอง ฯลฯ เมื่อลูกค้ามาเล่นเกม
นอกจากเกมก็มีฟีเจอร์ Live ที่จัดโดยทาง Shopee เองหรือแม้กระทั่งร้านค้าเองก็ทำได้ ใน Live ที่ Shopee จัดขึ้นส่วนมากก็มักจะเป็นการแจก Coin แจกโค้ด หรือกิจกรรมร่วมชิงรางวัลต่างๆ หากเป็นในฝั่งของร้านค้าก็แจก Coin และขายสินค้า รวมถึงมีโอกาสที่คนจะมองเห็นเพิ่มขึ้นนั่นเอง
ผนึกกำลังร่วมกับแพลตฟอร์มอื่น
นอกจากลูกค้าที่เป็นผู้ผลักดันทำให้ Shopee เติบโตแล้ว กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าก็มีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนแพลตฟอร์มด้วยเช่นกัน ทาง Shopee เองก็ได้ร่วมมือกับ Google ในการทำโฆษณาสินค้า และเปิดศูนย์การเรียนรู้ Shopee
เพื่อให้เทคนิคในการใช้เครื่องมือการตลาด และการช่วยเหลือต่างๆ กับร้านค้า ทำให้สามารถมอบประสบการณ์ในการช้อปปิ้งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าได้
มาถึงจุดนี้อาจจะมองว่าแล้วคนที่ขายของออนไลน์จะเอาอะไรไปประยุกต์ใช้ได้บ้างล่ะ ? คำตอบคือ ทาง Shopee มุ่งเน้นไปที่คีย์สำคัญอย่างลูกค้าเป็นหลัก พวกเค้าฟังเสียง รับรู้ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า จึงได้พัฒนาต่อยอดสิ่งต่างๆ ให้เหมาะสมกับลูกค้ามากที่สุด และทำให้สามารถครองใจผู้บริโภคได้ไม่ยากนัก
การตลาดยุคปัจจุบัน แตกต่างจากเมื่อก่อนที่เราผลิตหรือทำอะไรก็ได้เดียวลูกค้าก็ซื้อ แต่ยุคนี้กลายเป็นว่าผู้บริโภคจะเป็นผู้กำหนดตลาด และหากใครที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้มากที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะ
คอร์สเรียนแต่งรูปง่ายๆด้วยโทรศัพท์มือถือ แต่ได้รูปมือโปร เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ
ฟังเจาะกลยุทธ์ Shopee ผ่าน YouTube
สรุป
ดังนั้นแล้ว พ่อค้าแม่ค้าอาจจะย้อนกลับมาดูร้านตัวเองก่อนก็ได้ว่า เราตอบโจทย์ลูกค้าเรามากพอรึยังที่ทำให้เกิดการซื้อ ? ถ้ายังก็ลองเปลี่ยนตัวเองไปยืนในจุดที่ลูกค้าอยู่ ถามว่าเค้าต้องการอะไรกันแน่จากสินค้านี้ มันช่วยทำให้เราเข้าใจได้มากขึ้น และสามารถพูดสื่อสารกับลูกค้าได้เป็นภาษาเดียวกัน ทีนี้เดียวยอดขายก็ตามมาแน่นอน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Businessinsider.com
Shopee.com
Shopee University
ipricethailand